เมนู

ผู้ไม่มากไปด้วยความกระสัน. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่กำหนดรู้ด้วย
ปริญญา 3. บทว่า ปริมุจฺจติ ได้แก่หลุดพ้นด้วยปหานปริญญาที่เกิดขึ้น
ในมรรคขณะ.
ในพระสูตรนี้ เป็นอันตรัสเฉพาะมรรคเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ในปริญญา 3 นอกจากนี้ก็เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ ท่านไม่กำหนดเอา
อนุปัสสนา กำหนดเอาในปริญญา 3 เหล่านั้น เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้
อนุปัสสนานั้น พึงกำหนดตามที่ท่านกำหนดไว้แล้วในปริญญา 3 นั่นแล.
จริงอยู่ ในปริญญา 3 เหล่านั้น เว้นอนุปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย
ใครๆไม่อาจจะเบื่อหน่ายหรือกำหนดรู้ได้.
จบ อรรถกถาอนุธรรมสูตรที่ 1

8. อนุธรรมสูตรที่ 2



ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอนิจจังในขันธ์ 5



[84] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร
ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อ
เธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป
ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร
ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
จบ อนุธรรมสูตรที่ 2